วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15


                                  มันคืออะไร

  วันที่ 8 มีนาคม 2555


งานที่ต้องนำเสนอวันนี้


อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานกลุ่มที่ให้จัดทำ
- Big Book
- บัตรคำ
อาจารย์ตรวจงานของแต่ละกลุ่มและให้ข้อแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชิ้นงาน
คำแนะนำกลุ่มของดิฉัน
- ตัวหนังสือใหญ่เกินไปตัวหนังสือกับรูปภาพไม่สมดุลย์กัน
- รูปภาพยังดูไม่เหมือนจริง
อาจารย์ให้แก้ไขตรงจุดที่ยังไม่ถูกและถ้าแก็ไขเรียบร้อยแล้วให้ส่งก่อน 3 โมงเย็น









บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14



                               บัตรคำ พยัญชนะตัว ช 
น บัตรคำ พยัญชนะตัว ช ที่แก้ไขแล้
วันพฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม 2555


 1. วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอผลงานของกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอ
 2. อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในสิ่งที่เหมาะสมและถูกต้อง ในการรายงานหรือนำเสนอผลงาน ของแต่ละกลุ่ม 
 3. อาจารย์ได้มอบหมายงาน(งานกลุ่ม) 
- ให้นำกระดาษที่อาจารย์แจกให้ในแต่ละกลุ่มไปทำหนังสือ Big  Book 
ในหัวข้อมันคืออะไรของแต่ละกลุ่ม และบัตรคำ  
- ให้นักศึกษาส่งในสัปดาห์ถัดไป







วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


วันที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
  
         - วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานจากที่ไปทำกิจกรรมกับเด็กอนุบาลโดยให้เด็กตัดรูปผลไม้


จากโปรชั่วที่ข้าพเจ้าจัดเตรียมเอาไว้และติดลงบนกระดาษพร้อมกับให้เด็กเขียนด้วย  


(ถ้าเด็กสามารถเขียนได้)

 กลุ่มข้าพเจ้าจัดทำหัวข้อเรื่อง อะไรเป็นผลไม้ 

        - วันนี้ได้นำเสนอไป 3 กลุ่ม ยังไม่ครบและอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่มที่ต้องแก้ไขในสิ่งที่ถูก


ต้องและสิ่งที่จะสามารถเสริมพัฒนาการของเด็กได้เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นเทคนิกในการทำในครั้งต่อไป






 ข้อเสนอแนะของอาจารย์   
      
 -  ถ้าเด็กเขียนผิดเราควรที่จะเเนะนำเด็กให้เด็กเขียนให้ถูก
 -  ถ้าเด็กเขียนไม่ถูกเราควรที่จะเขียนให้เด็กดูก่อนแล้วให้เด็กเขียนตาม
 -  รูปหน้าปกต้องมีผลไม้และตัวหนังสือหน้าปกควรที่จะอยู่ประโยชน์เดียวกัน
เพื่อสะดวกต่อการอ่านของเด็ก
 -  สิ่งที่บอบประโยชน์ ควรให้ระบุประโยชน์ให้ชัดเจนมากกว่านี้

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันเสาร์ ที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555   (เรียนชดเชย)

       
กิจกรรมที่อาจารย์ให้ความรู้วันนี้


* อาจารย์ให้นำกระดาษใช็แล้ว 1 หน้า  นำมาทำกิจกรรมดังนี้
-อาจารย์ให้วาดภาพอะไรก็ได้คนละ  1 ภาพ และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาหน้าชั้นเรียนครั้งละ 10 คน เพื่อที่จะให้เล่านิทานจากภาพที่เราวาดและโดยเล่าต่อๆกันไปเรื่อยๆโดยดิฉันได้วาดรูป " ส้ม "
-อาจารย์ให้วาดรูปแทนคำโดยให้เพื่อนทายว่าที่เราวาดหมายถึงอะไร 

โดยดิฉันได้วาดคำว่า  " นกแก้ว "  
- อาจารย์ให้เขียนพยัญชนะไทยและอาจารย์แบ่งกลุ่มละ 9 - 10 คนโดยให้กลุ่มดิฉันทำเกี่ยวกับอักษรต่ำโดยดิฉันได้เขียนตัว "ส" และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนสระที่อยู่ข้างหน้าว่ามีอะไรบ้างโดยกลุ่มของดินฉันได้เขียน
เ"  และ "แ"
- อาจารย์ให้ทำภาพและคำโดยให้พับครึ่งกระดาษก่อนแล้วแบ่งเป็นสองส่วนโดยส่วนบนให้วาดภาพพร้อมเขียนชื่อของภาพไว้ใต้รูปภาพที่เราวาดและส่วนล่างให้แบ่งช่องว่างให้เท่ากันและเขีียนแต่ละคำลงในช่องว่างที่เราแบ่งไว้ตามคำที่เราเขียนไว้ด้านบนตามที่เราวาด
- อาจารย์ให้เรียนรู้เรื่องรูปแบบของภาษา เสียงพยัญชนะ และ เสียงสระ 


พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว  คือ   ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว  คือ   ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว  คือ   ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล 

อักษรต่ำคู่มี 14 ตัว 


                                                 
    

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

วันที่ 16  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

    - อาจารย์ได้อธิบายในเรื่องของการทำหนังสือภาพ ต้องเป็นอย่างไร

เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า
(เป็นตัวอย่างที่อาจารย์นำมาประกอบการอธิบาย)   เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านำมาตัดติดลงบนกระดาษที่เตรียมไว้และตอนสุดท้ายให้บอกข้อควรระวังหรือประโยชน์จากการใช้งานด้วย
(ถ้าเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้น)  เราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือเปล่าชึ่งเป็นการสังเกตความต้องการความรู้สึกในการทำกิจกรรมรวมทั้งพัฒนาการของเด็ก

   
ารสร้างภาพปริศนาคำทาย  ควรจะมีดังนี้
1. เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2. วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3. เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4. นำมาจัดเรียงลำดับ
5. แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
ตัวอย่าง

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง 

ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา 

มันคืออะไร



เพื่อนตอบว่า ''หมา''

 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา 

ฉันตอบว่า "ไม่ใช่"


ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า "ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต 
ฉันตอบว่า "ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา 
มันคืออะไร 

เพื่อนตอบว่า "วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา 
ฉันตอบว่า "ไม่ใช่" 

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน 
มันคืออะไร 

เพื่อนตอบว่า "ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน 
ฉันตอบว่า "ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน 
เพื่อน เก่ง จัง เลย  

กิจกรรมงานที่ได้ทำในห้องเรียน
- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4 คน จะร่วมกันคิดภาพปริศนาคำทายร่วมกันแล้วส่งให้อาจารย์ตรวจ
งานที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ให้ทำหนังสือปริศนาคำทายมา 1 เล่ม จากที่ได้แก้ไขจากที่อาจารย์ชี้แนะมาส่งสัปดาห์หน้าโดยการทำหนังสือภาพเป็นกลุ่ม







บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

 วันที่  9  เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


 * วันนี้ไม่มีเรียน  เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

  






  
             
  

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


*  วันนี้ดิฉันไม่ได้เขาเรียนค่ะ   เนื่องจากดิฉันต้องนำเอกสารผลการเรียนไปส่งที่สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ สวนจิรลดาค่ะ


ความหมายอิทธบาท 4 ที่อาจารย์ให้ค้นหา
  

"อิทธิบาท 4" ป็นแนวทางการทำงานที่พระพุทธองค์ได้ทรงสดับไว้อย่างแยบคลาย อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งใครๆก็ท่องได้ จำได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ปฏิบัติได้ครบกระบวนความทั้ง 4 ข้อ อันเป็น 4 ขั้นตอนที่ต่อเนื่องหนุนเสริมกัน จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ด้วยว่ามันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงกันทั้ง 4 ข้อ จึงจะทำให้เราประสบผลสำเร็จในชีวิตและการงานได้ตามความมุ่งหวัง ผมขออธิบายดังต่อไปนี้
1) ฉันทะ คือ การมีใจรักในสิ่งที่ทำใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำจึงจะเกิดผลจริงตามควร เราคงเคยได้ยินคำว่า "ขอฉันทามติจากประชุม" บ่อยๆ หรือ "มีฉันทะร่วมกัน" ก่อนเลิกการประชุมบางอันเป็นเสมือนสัญญาระหว่างกันว่าเราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ร่วมกันหรือละเว้นบางสิ่งร่วมกัน
2) วิริยะ คือ ความมุ่งมั่นทุ่มเท เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจ ที่จะเรียนรู้และทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้นเรื่องนั้น ถ้าหากกระทำก็จะทำจนเชี่ยวชาญจนเป็นผู้รู้ ถ้าหากศึกษาก็จะศึกษาให้รู้จนถึงรากเหง้าของเรื่องราวนั้นๆ ดังนั้น คำว่า "วิริยะ" จึงหมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูงที่จะทำตามฉันฑะหรือศรัทธาของตัวเอง
3) จิตตะ คือ ใจที่จดจ่อเมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตาม คำนี้ยิ่งใหญ่มากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มักจะใจแตกบ่อยๆหรือใจแตกยาวนาน มักหลงใหลได้ปลื้มไปกับวัตถุ เทคโนโลยี เที่ยวกลางคืน เรื่องเพศและยาเสพติด เมื่อใจแตกก็มักจะขาดความรับผิดชอบ คิดทำอะไรก็มักทำแบบสุกเอาเผากินพอให้เสร็จไปวันๆ ทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่างทำผิดๆถูกๆอยู่อย่างนั้น ชอบเอาดีใส่ตัวเองและให้ร้ายผู้อื่นตามมา อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร ถ้าอยู่ในวัยเรียนก็จะเสียการเรียนเสียชื่อเสียงของโรงเรียนและพ่อแม่ก็เสียใจ ถ้าอยู่ในวัยทำงานก็จะเสียงานและองค์กรก็จะเสียงานด้วย
4) วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมาและรับผิดชอบอันเกิดจาก การมีใจรัก (ฉันทะ) แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้และรอบคอบ จึงนำไปสู่การทบทวนตัวเอง และทบทวนองค์กรหรือทบทวนขบวนการ ทบทวนในสิ่งที่ได้คิดสิ่งได้ทำผ่านมาว่าเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเราเองและเป็นเรื่องที่ร่วมคิดร่วมทำกับคนอื่น เพื่อปรับปรุงปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
   ดังนั้น  "อิทธิบาท 4" จึงมีความหมายกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเดินทางไปในสู่ความสำเร็จในชีวิตและการงาน เพราะหากทำได้ตามกระบวนความแล้ว สังคมความรู้ ชุมชนความรู้ และปัจเจกชนความรู้ คงอยู่ไม่ไกลเกินฝัน ประการสำคัญ "อิทธิบาท 4" ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวจากหลักธรรมข้ออื่นๆอันเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงถึงกัน เพียงแต่อธิบายคนละบทบาทเท่านั้น สิ่งสำคัญ เราได้ใคร่ครวญในเรื่องเหล่านี้มากน้อยเพียงใด เพราะ ในโลกปัจจุบัน โลกที่สั่งสมอวิชชามามากจนเกินล้น จึงกลายเป็นโลกที่ฉาบฉวยและวุ่นวายสูงสุด นั่นแปลว่าเราต้องฝึกฝนตนเองหลายเท่าตัวเพื่อจะเข้าใจและเข้าถึงหลักธรรมที่ก่อกำเกิดการพัฒนาที่จุดเริ่มต้นของตนเองอย่างแท้จริง


เขียนโดย Woman